วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555


หน่วยที่4  Software


         ซอฟแวร์คือ การลำดับขั้นตอนของการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดโปรแกรมของหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถให้ทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามรถสร้าง จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ดด้วยสื่อหลายชนิดเช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟร็ชไดร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
        หน้าที่ของซอฟแวร์
         ซอฟแวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟแวร์ เราก็ไม่สามารถใช้เครนื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟแวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท
         ประเภทของซอฟแวร์
 ซอฟแวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
 ซอฟแวร์ระบบ (System Software)
 วอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software)
 ซอฟแวร์ใช้งานเฉพาะ
        ซอฟแวร์ระบบ (System Software)
        ซอฟแวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟแวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพ หรือ นำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
ซอฟแวร์ระบบ หรือโปรแกรมที่รู้จักกันดีก็คือ Dos,Windows,Unix,Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Bssic, Fortran,Pascal,Cobol,C เป็นต้น
           นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบ เช่น Norton's Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
     หน้าที่ของซอฟแวร์ระบบ
1) ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับรู้การกดแป้นต่างๆบนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น เมาส์ ลำโพง เป็นต้น
2) ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3) ใช้เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการในสารระบบ (diretory) ในแผ่นบันทึก การนำสำเนาแฟ้มข้อมูล
       ซอฟแวร์ระบบเป็นพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็น รบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา
1.ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า โอเอส (Operating System : os)
       1.1 ดอส (Disk) (Operating System : Dos)  เป็นซอฟแวร์จัดรบบงานที่พัฒนาแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั้งเป็นตัวอักขระ ดอสเป็นซอฟแวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต ปัจุบันระบบปฏิบัติการดอส มีการใช้งานน้อยมาก
       1.2 วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฎิบัติการที่พัมนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แป้นอักขระเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานได้หลายงานได้พร้อมกัน  โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเป็นรูปแบบกราฟฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์ชขี้เพื่อเลือกตำแหน่งบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้งายขึ้น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
         1.3 ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป้นเทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) วึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผูใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายงานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆเครื่อง
         1.4 ลีนุกซ์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาแล้วมาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่าย โปรแกรมต้นฉบับให้นักพัมนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานเป็นระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกรูนิวส์ (GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Free Ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานโดยไม่ต้องเสีย
ระบบลีนุกซ์ สามารถทำงานได้บน ซีพียูหลายตระกูล เช่น อินเทล (pu Intel) ดิจิตอล (Digitel Aipha computer) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนพีซีได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้งานจำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น
          1.5 แมคอินทอช (Macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอซ ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสารนิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ
         นอกจากระบบปฎิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งดดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น